วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การประสมวงดนตรีไทย

การประสมวงดนตรีไทย สรุปได้ดังนี้

วงปี่พาทย์ คำว่า "ปี่พาทย์" หมายถึงการประสมวงที่มีปี่ และเครื่องเคาะ (ตี) ร่วมด้วย สมัยสุโขทัยได้เริ่มมี "วงปี่พาทย์เครื่องห้า" ขึ้นมาก่อน โดยใช้เครื่องดนตรี 5 ชิ้น คือ ปี่ ตะโพน ฆ้อง กลอง ฉิ่ง ต่อมาได้มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับจนเจริญถึงขีดสุดในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีการเพิ่มระนาดเข้าไปในภายหลัง

วงปี่พาทย์ในปัจจุบันแบ่งออกได้ 7 แบบ ตามการจัดกลุ่มเครื่องดนตรีดังนี้

ปี่พาทย์ชาตรี ประกอบด้วย
  1. ปี่นอก
  2. ฆ้องคู่
  3. โทนชาตรี,
  4. กลองชาตรี
  5. ฉิ่ง
  6. กรับ
ปี่พาทย์เครื่องห้า ประกอบด้วย
  1. ปี่ใน
  2. ฆ้องวงใหญ่
  3. ระนาด
  4. ตะโพน
  5. กลองทัด
  6. ฉิ่ง
ปี่พาทย์เครื่องคู่ ประกอบด้วย
  1. ปีใน
  2. ปี่นอก
  3. ฆ้องวงใหญ่
  4. ฆ้องวงเล็ก
  5. ระนาดเอก
  6. ระนาดทุ้ม
  7. ตะโพน
  8. กลองทัด
  9. ฉิ่ง
  10. ฉาบ
  11. กรับ
  12. โหม่ง
ปี่พาทย์เครื่องใหญ่ ประกอบด้วย
  1. ปีใน
  2. ปี่นอก
  3. ฆ้องวงใหญ่
  4. ฆ้องวงเล็ก
  5. ระนาดเอก
  6. ระนาดทุ้ม
  7. ระนาดเหล็ก
  8. ระนาดทุ้มเหล็ก
  9. ตะโพน
  10. กลองทัด
  11. ฉิ่ง
  12. ฉาบ
  13. กรับ
  14. โหม่ง

ปี่พาทย์นางหงส์ ประกอบด้วย
  1. ปี่ชวา
  2. ฆ้องวงใหญ่
  3. ฆ้องวงเล็ก
  4. ระนาดเอก
  5. ระนาดทุ้ม
  6. กลองมลายู
  7. ฉิ่ง
ปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ประกอบด้วย
  1. ขลุ่ยเพียงออ
  2. ขลุ่ยอู้
  3. ฆ้องวงใหญ่
  4. ฆ้องหุ่ย
  5. ระนาดเอ
  6. ระนาดทุ้ม
  7. ระนาดทุ้มเหล็ก
  8. ซออู้
  9. ตะโพน
  10. กลองตะโพน
  11. กลองแขก
  12. ฉิ่ง
ปี่พาทย์มอญ ประกอบด้วย
  1. ปี่มอญ
  2. ฆ้องมอญ
  3. ระนาด
  4. เปิงมางคอก
  5. ตะโพนมอญ
  6. โหม่งมอญ
  7. ฉิ่ง
  8. ฉาบ
วงมโหรี ในสมัยอยุธยาวงมโหรีเกิดขึ้นมาจากการดัดแปลงวงขับไม้ในอดีต โดยนำพิณมาร่วมบรรเลงดัวย ซึ่งเดิมมีเครื่องดนตรีเพียง 2 ชิ้น แล้วเปลี่ยนคนขับลำนำมาเป็นคนร้อง และตีกรับพวง เปลี่ยนจากบัณเฑาะว์เป็นโทน พร้อมกับเพิ่มรำมะนา และขลุ่ยไปประสมร่วม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น