เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีกระทบ ประกอบด้วยแผ่นบาง มักทำด้วยแผ่นหนังขึงยึดติดกับโครงให้ตึง ทำให้เกิดเสียงโดยการตีด้วยไม้ หรืออวัยวะของผู้เล่น กลองจัดเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
กลองแขก
หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กลองชวา เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีที่มีรูปร่างยาวเป็นรูปทรง กระบอก ขึ้นหนังสองข้างด้วยหนังลูกวัวหรือหนังแพะหน้าใหญ่ กว้างประมาณ 20 ซม เรียกว่า “หน้ารุ่ย” ส่วนหน้าเล็กกว้างประมาณ 17 ซม เรียกว่า“หน้าด่าน” ตัวกลองแขกทำด้วยไม้แก่น เช่นไม้ชิงชันหรือไม้มะริดการขึ้นหนังใช้เส้นหวายผ่าซีกเป็นสายโยง เร่งเสียง โยงเส้นห่างๆในปัจจุบันอาจใช้เส้นหนังแทนเนื่อง จากหาหวายได้ยาก กลองแขกสำหรับหนึ่งมี 2 ลูกลูกเสียง สูงเรียก “ตัวผู้” ลูกเสียงต่ำเรียก “ตัวเมีย” ตีด้วยฝ่ามือทั้งสองข้างให้สอดสลับกันทั้งสองลูก
กลองแขก
หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กลองชวา เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีที่มีรูปร่างยาวเป็นรูปทรง กระบอก ขึ้นหนังสองข้างด้วยหนังลูกวัวหรือหนังแพะหน้าใหญ่ กว้างประมาณ 20 ซม เรียกว่า “หน้ารุ่ย” ส่วนหน้าเล็กกว้างประมาณ 17 ซม เรียกว่า“หน้าด่าน” ตัวกลองแขกทำด้วยไม้แก่น เช่นไม้ชิงชันหรือไม้มะริดการขึ้นหนังใช้เส้นหวายผ่าซีกเป็นสายโยง เร่งเสียง โยงเส้นห่างๆในปัจจุบันอาจใช้เส้นหนังแทนเนื่อง จากหาหวายได้ยาก กลองแขกสำหรับหนึ่งมี 2 ลูกลูกเสียง สูงเรียก “ตัวผู้” ลูกเสียงต่ำเรียก “ตัวเมีย” ตีด้วยฝ่ามือทั้งสองข้างให้สอดสลับกันทั้งสองลูก
ลักษณะของกลองแขก
กลองแขกเป็นกลองสองหน้า ยาวประมาณ ๖๐ ซม. ตัวกลองทำด้วยไม้ขึงหนัง ๒ หน้า เสียงต่ำ เส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๕ ซม. เสียงสูงเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๑ ซม. ดึงให้ตึงด้วยเชือกหนัง ชุดหนึ่งมี ๒ ลูก ตีคู่กัน เป็นตัวเมีย (เสียงต่ำ) ลูกหนึ่งกับตัวผู้ (เสียงสูง) ลูกหนึ่ง
ประวัติ
กลองแขก เป็นเครื่องหนังที่จัดอยู่ในประเภทที่ใช้สายโยงเร่งเสียง ขึ้นหรือหุ้มหนังทั้ง 2 หน้า มีชื่อเรียกอีกชื่ออีกหนึ่งว่า “ กลองชวา “ เพราะเข้าใจว่าเราได้แบบอย่างมาจากชวา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้อธิบายถึงเรื่องกลองมลายูและกลองแขก ไว้ในตำนานมโหรีปี่พาทย์ว่า “ เครื่องปี่พาทย์เราทีใช้กันอยู่ทุกวันนี้ มีเครื่องดนตรีที่เราได้มาจาก 2 อย่าง คือ กลองแขกและกลองมลายู เข้าใจว่ามาจาพวกชวา ทั้งสองอย่างนี้มีรูปร่างที่คล้ายคลึงกัน จะผิดกันที่การผสมวง และการนำเอาไปใช้ “ และยังได้อธิบายถึงการเข้ามาของกลองแขกไว้อีก ในระยะแรกนั้นกลองเข้ามาใช้ในการตีประกอบการฟ้อนรำ เช่น การรำกระบี่กระบอง ส่วนทำนองวงนั้นจะมาจากแขกรำกริชก่อน วงที่ใช้นั้นจะประกอบไปด้วย ปี่ชวา 1 เลา กลองแขก 1 คู่ และฉิ่ง ในขบวนแห่ก็ใช้เหมือนกัน เช่น ใช้ตีนำขบวนแห่โสกันต์และนำขบวนแห่เสด็จพระราชดำเนินกระบวนช้างและกระบวน เรือ ซึ่งคล้ายคลึงกับกลองมลายูที่ใช้ตีในกระบวนแห่ สงสัยว่าเดิมอาจจะใช้กลองมลายูตีก่อน ต่อมาภายหลังอาจเห็นว่า กลองมลายูนั้นใช้ตีในงานศพ อาจเป็นที่รังเกียจ จึงนำเอากลองแขกมาตีแทน โดยลดฆ้องเหม่งออกแล้วนำฉิ่งมาตีแทน การนำเอากลองแขกเข้ามาตีในวงปี่พาทย์ เห็นจะเป็นเมื่อคราวบรรเลงประกอบกาแสดงละครเรื่องอิเหนาของชวา มาเล่นเป็นละครของไทยเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา โดยใช้ตีตอนละครรำเพลงแขก เช่น การรำกริช เป็นต้น ครั้นต่อมา เมื่อปี่พาทย์จะบรรเลงเพลงใดอันเนื่องมาจากแขก เช่น เพลงเบ้าหลุด สะระบุหร่ง ก็จะนำเอากลองแขกเข้ามาตีแทนตะโพน ปัจจุบันจะพบเห็นกลองแขกตีกับจังหวะหน้าทับแทนตะโพนและสองหน้าอยู่ในวงปี่ พาทย์เสมอ จนกลายเป็นส่วนหนึ่งในวงดนตรีไทย
โอกาสที่บรรเลง
๑. บอกเวลา ๑๑.๐๐ น. (เพล) เฉพาะตามวัดและเป็นสัญญาณหมายรู้กันในละแวกบ้านนั้นๆ กับวัด
๒. ประสมวงปี่พาทย์บรรเลงในทุกโอกาส
กลองชนะ
กลองชนะ รูปร่างเหมือนกลองแขก แต่สั้นกว่า หน้าหนึ่งใหญ่ อีกหน้าหนึ่งเล็ก ใช้ตีด้วยไม้งอ ๆ หรือหวาย ทางด้านหน้าใหญ่ เดิมกลองชนะน่าจะใช้ในกองทัพ หรือในการสงคราม ต่อมาใช้เป็นเครื่องประโคมในกระบวนพยุหยาตรา และใช้ประโคม พระบรมศพ พระศพ และศพ ตามเกียรติยศของงาน จำนวนที่ใช้บรรเลง มีตั้งแต่ ๑ คู่ ขึ้นไป
กลองชาตรี
กลองชาตรี มีรูปร่างลักษณะและการตีเช่นเดียวกับกลองทัด แต่ขนาดเล็กกว่ากลองทัดประมาณครึ่งหนึ่ง ขึ้นหนังสองหน้า ใช้บรรเลงร่วมในวงปีพาทย์ในการแสดงละครชาตรีที่เรียกว่า "ปีพาทย์ชาตรี" ใช้เล่นคู่กับโทนชาตรี
กลองต๊อก
กลองต๊อก เป็นกลองจีนชนิดหนึ่ง มีขนาดเล็ก หุ่นกลองหนา ขึ้นหนังสองหน้า หน้าทั้งสองมีขนาดเท่ากัน ตีหน้าเดียวโดยใช้ไม้ขนาดเล็ก
กลองตะโพน
กลองตะโพน ใช้ตะโพนสองลูก เสียงสูงต่ำต่างกัน ถอดเท้าออก แล้วนำมาตั้งเอาหน้าเท่งขึ้นตีแบบกลองทัด ใช้ไม้นวมที่ใช้ตีระนาดเป็นไม้ตี
กลองทัด
กลองทัด มีรูปทรงกระบอก กลางป่องออกเล็กน้อย ขึ้นหนังสองหน้า ตรึงด้วยหมุดที่เรียกว่า "แส้" ซึ่งทำด้วยไม้ งาช้าง กระดูกสัตว์ หรือโลหะ หน้ากลองด้านหนึ่งติดข้าวตะโพน แล้วตีอีกด้านหนึ่ง ใช้ไม้ตีสองอัน สำรับหนึ่งมีสองลูก ลูกเสียงสูงเรียกว่า "ตัวผู้" ลูกเสียงต่ำเรียกว่า "ตัวเมีย" ตัวผู้อยู่ทางขวา และตัวเมียอยู่ทางซ้ายของผู้ตี กลองทัดน่าจะเป็นกลองของไทยมาแต่โบราณ ใช้บรรเลงรวมอยู่ในวงปีพาทย์มาจนถึงปัจจุบัน
กลองมลายู
กลองมลายู มีรูปร่างลักษณะเหมือนกลองแขก แต่สั้นและอ้วนกว่า หน้าหนึ่งใหญ่ อีกหน้าหนึ่งเล็กขึ้นหนังสองหน้า เร่งให้ตึงด้วยหนังรูดให้แน่น สายโยงเร่งเสียงทำด้วยหนัง หน้าใหญ่อยู่ทางขวาไปตีด้วยไม้งอ หน้าเล็กตีด้วยฝ่ามือ สำรับหนึ่งมีสีลูก ต่อมาลดเหลือสองลูก ใช้บรรเลงคู่ อย่างกลองแขกลูกเสียงสูงเรียกว่า "ตัวผู้" ลูกเสียงต่ำเรียกว่า "ตัวเมีย" ใช้บรรเลงในวงบัวลอยในงานศพ และใช้บรรเลงในวงปีพาทย์นางหงส์
กลองโมงครุ่ม
กลองโมงครุ่ม มีรูปร่างลักษณะเหมือนกลองทัด แต่ใหญ่กว่า ขึ้นหนังสองหน้า ตรึงด้วยหมุด ตีหน้าเดียว โดยใช้ไม้ตี ใช้ตีในการเล่นสมัยโบราณที่เรียกว่า "โมงครุ่ม" หรือ "โหม่งครุ่ม" ซึ่งมักตีฆ้องโหม่งประกอบด้วย
กลองยาว
กลองยาว หุ่นกลองทำด้วยไม้ ตอนหน้าใหญ่ ตอนท้ายเรียวแล้วบานปลายเป็นรูปดอกลำโพงมีหลายขนาด ขึ้นหนังหน้าเดียว ตัวกลางนิยมตบแต่งให้สวยงามด้วยผ้าสี หรือผ้าดอกเย็บจีบย่น ปล่อยเชิงเป็นระบายห้อยมาปกด้วยกลอง มีสายสะพายสำหรับคล้องสะพายบ่า ใช้ตีด้วยฝ่ามือ แต่การเล่นโลดโผน อาจใช้ส่วนอื่น ๆ ของร่างกายตีก็มี กลองยาวได้แบบอย่างมาจากพม่า นิยมเล่นในงานพิธีขบวนแห่ กลองชนิดนี้เรียกชื่อตามเสียงที่ตีได้อีกชื่อหนึ่งว่า "กลองเถิดเทิง"
กลองสองหน้า
กลองสองหน้า ลักษณะคล้ายเปิงมาง แต่ใหญ่กว่า ตีด้วยมือขวา ใช้ใบเดียวตีกำกับจังหวะในวงปีพาทย์ที่บรรเลงในการขับเสภา
ตะโพน
ตะโพน เป็นเครื่องดนตรีประเภทกลอง ตัวตะโพนเรียกว่า "หุ่น" ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ขุดแต่งให้เป็นโพรงภายใน ขึ้นหนังสองหน้า ตรงกลางป่องและสอบไปทางหน้าทั้งสอง หน้าหนึ่งใหญ่เรียกว่า "หน้าเทิ่ง" หรือ "หน้าเท่ง" ปกติอยู่ด้านขวามือ อีกหน้าหนึ่งเล็ก เรียกว่า "หน้ามัด" ใช้สายหนังเรียกว่า "หนังเรียด" โยงเร่งเสียงระหว่างหน้าทั้งสอง ตรงรอบ ขอบหนังขึ้นหน้าทั้งสองข้าง ถักด้วยหนังตีเกลียวเป็นเส้นเล็ก ๆ เรียกว่า "ไส้ละมาน" สำหรับใช้ร้อยหนังเรียด โยงไปโดยรอบจนหุ้มไม้หุ่นไว้หมด ตอนกลางหุ่นใช้หนังเรียดพันโดยรอบเรียกว่า "รัดอก" หัวตะโพนวางนอนอยู่บนเท้าที่ทำด้วยไม้ ใช้ฝ่ามือซ้าย-ขวา ตี ทั้สองหน้า
ตะโพนใช้บรรเลงผสมอยู่ในวงปีพาทย์ ทำหน้าที่กำกับจังหวะหน้าทับต่าง ๆ ผู้ที่นับถือพระประคนธรรพ ว่าเป็นครูใหญ่ทางดนตรี ได้ถือเอาตะโพนเป็นเครื่องแทนพระประคนธรรพในพิธีไหว้ครู และถือว่าตะโพนเป็นเครื่องควบคุมจังหวะที่สำคัญที่สุด
ตะโพนมอญ
คล้ายตะโพนไทย แต่ใหญ่กว่า และตรงกลางหุ่นป่องน้อยกว่า มีเสียงดังกังวาลลึกกว่าตะโพนไทย หน้าใหญ่เรียกว่า "เมิกโนด" หน้าเล็กเรียกว่า "เมิกโด้ด" เป็นภาษามอญ ตะโพนมอญใช้บรรเลงผสมในวงปีพาทย์มอญ มีหน้าที่บรรเลงหน้าทับ กำกับจังหวะต่าง ๆ
ตะโพนใช้บรรเลงผสมอยู่ในวงปีพาทย์ ทำหน้าที่กำกับจังหวะหน้าทับต่าง ๆ ผู้ที่นับถือพระประคนธรรพ ว่าเป็นครูใหญ่ทางดนตรี ได้ถือเอาตะโพนเป็นเครื่องแทนพระประคนธรรพในพิธีไหว้ครู และถือว่าตะโพนเป็นเครื่องควบคุมจังหวะที่สำคัญที่สุด
ตะโพนมอญ
คล้ายตะโพนไทย แต่ใหญ่กว่า และตรงกลางหุ่นป่องน้อยกว่า มีเสียงดังกังวาลลึกกว่าตะโพนไทย หน้าใหญ่เรียกว่า "เมิกโนด" หน้าเล็กเรียกว่า "เมิกโด้ด" เป็นภาษามอญ ตะโพนมอญใช้บรรเลงผสมในวงปีพาทย์มอญ มีหน้าที่บรรเลงหน้าทับ กำกับจังหวะต่าง ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น